Recof บริษัทที่ปรึกษาด้าน M&A ของญี่ปุ่น เปิดเผยว่า ในปี 2022 มีการควบรวมและซื้อกิจการที่เกี่ยวข้องกับ บริษัทญี่ปุ่น สูงถึง 4,304 ครั้ง สวนทางกระแสโลกที่ลดลงเนื่องจากความขัดแย้งในยุโรป และอัตราดอกเบี้ยที่พุ่งสูง
โดยจำนวนการเข้าซื้อกิจการที่บริษัทญี่ปุ่นมีส่วนเกี่ยวข้องทั้งในฐานะผู้ซื้อและผู้ขาย รวมถึงการลงทุน มีจำนวนยอดรวมทะลุถึง 4,280 รายการในปี 2021 ซึ่งถือเป็นจำนวนสูงสุดนับตั้งแต่ Recof เริ่มติดตามข้อมูลในปี 1985
จำนวนการเข้าซื้อกิจการของ บริษัทญี่ปุ่น โดยหน่วยงานการลงทุนในประเทศและต่างประเทศเพิ่มขึ้น 3% อยู่ที่ 1,071 รายการ และมีจำนวนการสืบทอดกิจการมากกว่า 700 รายการ เกือบ 20% ของจำนวนทั้งหมด
ทั้งนี้ แม้มูลค่าของการเทคโอเวอร์ระหว่างธุรกิจญี่ปุ่นจะเพิ่มขึ้นถึง 26% เป็นมูลค่า 4 ล้านล้านเยน แต่มูลค่าการซื้อกิจการในต่างประเทศโดยบริษัทญี่ปุ่นกลับลดลงกว่าครึ่ง เหลือเพียง 3.47 ล้านล้านเยน เช่นเดียวกับมูลค่าการเข้าซื้อกิจการญี่ปุ่นโดยบริษัทต่างชาติที่ลดลงประมาณ 40% เป็นมูลค่า 3.95 ล้านล้านเยน
อย่างไรก็ตาม บริษัทข้อมูลทางการเงิน Refinitiv เปิดเผยว่า จำนวนการเทคโอเวอร์ทั่วโลกในปี 2022 ลดลงกว่า 20% เหลือเพียง 53,000 รายการ เนื่องจากปัจจัยต่างๆ อาทิ สงครามระหว่างรัสเซียและยูเครนที่อาจเพิ่มความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลกในอนาคต และการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในยุโรปและสหรัฐ ส่งผลให้ความต้องการเข้าซื้อกิจการยิ่งลดลง
อนึ่ง การเข้าซื้อกิจการครั้งใหญ่ที่สุดที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจญี่ปุ่น คือการเสนอซื้อ Hitachi Transport System โดยบริษัทการลงทุนของสหรัฐ KKR ด้วยมูลค่าประมาณ 6.70 แสนล้านเยน (ประมาณ 1.69 แสนล้านบาท)
References :
You May Also Like :
- นักลงทุนเทขาย พันธบัตรญี่ปุ่น มากเป็นประวัติการณ์ เหตุ BOJ เตรียมเปลี่ยนจุดยืน
- ญี่ปุ่นวางแผนลดการพึ่งพาการนำเข้า ผลผลิตทางการเกษตร จากต่างประเทศ
- WSTS คาดตลาดเซมิคอนดักเตอร์โลกหดตัว 4% ในปี 2023 อาจส่งผลต่อเศรษฐกิจในวงกว้าง
- เงินเยนพุ่ง แตะระดับสูงสุดในรอบ 4 เดือน หลัง BOJ ปรับนโยบาย Yield Curve Control
- Daiso ตั้งเป้าขยายสาขาในสหรัฐอเมริกาเพิ่มกว่า 10 เท่า หลังเงินเฟ้อกระตุ้นความต้องการสินค้าราคาถูก