อัตราเงินเฟ้อญี่ปุ่น เร่งตัวแตะระดับสูงสุดในรอบ 40 ปี นับตั้งแต่ปี 1981 ซึ่งอาจทำให้ธนาคารกลางญี่ปุ่นสร้างเซอร์ไพรส์แก่ตลาดอีกครั้ง ด้วยการเปลี่ยนจุดยืนด้านนโยบายการเงิน
โดยกระทรวงกิจการภายในของญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) พื้นฐานของญี่ปุ่นที่ไม่รวมราคาอาหารสดเพิ่มขึ้นถึง 3.7% ในเดือนพฤศจิกายนเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นเร็วที่สุดในรอบกว่า 40 ปีนับตั้งแต่ปี 1981 ตรงตามการประมาณการของนักเศรษฐศาสตร์
ขณะที่ราคาอาหารแปรรูปที่สูงขึ้นกลายเป็นตัวขับเคลื่อนหลักที่อยู่เบื้องหลังการเร่งตัวของอัตราเงินเฟ้อ อย่างไรก็ดี มาตรการต่างๆ ของรัฐบาลญี่ปุ่น รวมถึงมาตรการอุดหนุนการเดินทาง ยังคงช่วยรักษาให้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเติบโตต่ำกว่า 4%
ขณะเดียวกัน ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) เพิ่งสร้างความประหลาดใจให้กับตลาดด้วยการขยายกรอบอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปี ให้สามารถเคลื่อนไหวในช่วง -0.5% ถึง +0.5% อย่างไรก็ตาม ตัวเลขเงินเฟ้อล่าสุดนี้ ทำให้เกิดการคาดการณ์กันมากขึ้นว่า BOJ อาจเข้าใกล้จุดเปลี่ยนทางนโยบายทางด้านการเงิน
โดย อัตราเงินเฟ้อญี่ปุ่น เกินเป้าหมายที่ BOJ ตั้งไว้ที่ 2% เป็นเวลา 8 เดือนติดต่อกันแล้ว ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน ซึ่งไม่รวมอาหารสดและพลังงานอยู่ที่ 2.8% ชี้ให้เห็นถึงแนวโน้มความแข็งแกร่ง
ทั้งนี้ คุณ Koya Miyamae นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสจาก SMBC Nikko Securities กล่าวว่า “การเปลี่ยนแปลงนโยบายอาจเกิดขึ้นหลังจากประธาน BOJ คนใหม่เข้ารับตำแหน่งในช่วงฤดูใบไม้ผลิ
อย่างไรก็ตาม ตลาดไม่ได้ตัดทอนการเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้นก่อนหน้านั้น โดยระบุว่า คุณ Haruhiko Kuroda เคยเปลี่ยนท่าทีอย่างกะทันหันมาก่อนหน้านี้ ดังนั้น จึงมีแนวโน้มที่ตลาดจะไม่เชื่อ
References :
You May Also Like :
- ญี่ปุ่นวางแผนลดการพึ่งพาการนำเข้า ผลผลิตทางการเกษตร จากต่างประเทศ
- WSTS คาดตลาดเซมิคอนดักเตอร์โลกหดตัว 4% ในปี 2023 อาจส่งผลต่อเศรษฐกิจในวงกว้าง
- เงินเยนพุ่ง แตะระดับสูงสุดในรอบ 4 เดือน หลัง BOJ ปรับนโยบาย Yield Curve Control
- Daiso ตั้งเป้าขยายสาขาในสหรัฐอเมริกาเพิ่มกว่า 10 เท่า หลังเงินเฟ้อกระตุ้นความต้องการสินค้าราคาถูก
- BOJ ร่วมกับ 3 ธนาคารยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่น เตรียมทดสอบการให้บริการ เงินเยนสกุลดิจิทัล ภายในปีหน้า