นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยโตเกียวพัฒนา ‘แบตเตอรี่ลิเธียมไอออน’ ตัวต้นแบบที่ปราศจากโคบอลต์ได้สำเร็จ ซึ่งระบุว่าสามารถกักเก็บพลังงานได้มากกว่าแบตเตอรี่ทดแทนที่มีขนาดเท่ากันถึง 60%

เนื่องจาก ‘แบตเตอรี่ลิเธียมไอออน’ ที่ใช้จ่ายพลังงานให้กับผลิตภัณฑ์ต่างๆ ตั้งแต่สมาร์ทโฟนไปจนถึงยานพาหนะไฟฟ้า โดยทั่วไปจะมีอิเล็กโทรดที่ประกอบด้วยโคบอลต์ นิกเกิล และแมงกานีส แต่ด้วยโคบอลต์นั้นมีราคาสูงและเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมาก เหล่านักวิทยาศาสตร์จึงกำลังค้นหาทางเลือกอื่นที่ปราศจากวัสดุดังกล่าว

ยกตัวอย่างเช่น แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนฟอสเฟต หรือแบตเตอรี่แบบ LFP ซึ่งใช้ลิเธียมไอออนฟอสเฟตที่สามารถผลิตได้ในราคาที่ถูกกว่าแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนทั่วไปประมาณ 30%

อย่างไรก็ตาม เพื่อค้นหาทางเลือกที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทีมวิจัยจากมหาวิทยาโตเกียวจึงได้สร้างแบตเตอรี่ที่มีอิเล็กโทรดที่ประกอบด้วยลิเธียม นิกเกิล แมงกานีส ซิลิคอน และออกซิเจน ซึ่งการรวมกันขององค์ประกอบนี้จะช่วยให้แบตเตอรี่มีแรงดันไฟฟ้าสูงกว่าได้ แต่ก็เป็นที่รู้กันว่าส่วนประกอบในแบตเตอรี่ประเภทนี้พังง่าย ทำให้การใช้งานเป็นระยะเวลานานถือเป็นหนึ่งในความท้าทาย

อย่างไรก็ดี นักวิจัยชาวญี่ปุ่นระบุว่าสามารถเอาชนะปัญหาดังกล่าวได้แล้ว โดยการใช้อิเล็กโทรไลต์ที่พัฒนาขึ้นใหม่ ทำให้แบตเตอรี่ตัวต้นแบบสามารถรักษาความจุไว้ได้ถึง 80% หลังจากปล่อยประจุ 1,000 รอบ และยังมีความหนาแน่นของพลังงานสูงกว่าแบตเตอรี่ LFP กว่า 60% และอาจสูงกว่าแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนทั่วไปที่มีโคบอลต์อีกด้วย

ทั้งนี้ ทีมวิจัยยังคงต้องติดตามดูว่าแบตเตอรี่จะเสื่อมสภาพอย่างไรในช่วงระยะเวลาหลายปี ซึ่งศาสตราจารย์ Atsuo Yamada จากมหาวิทยาลัยโตเกียวกล่าวว่า “เราจะพิจารณาวิธีการร่วมมือกับบริษัทที่สนใจนำเทคโนโลยีดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ รวมถึงการออกใบอนุญาตด้วย”


Referencse :

NIKKEI ASIA

0 Shares:
You May Also Like