ล่าสุด คุณ Jun Shintake รองศาสตราจารย์ด้านวิศวกรรมแห่งมหาวิทยาลัย Electro-Communications ของญี่ปุ่น และนักวิจัยจาก Swiss Federal Institute of Technology in Lausanne (EPFL) ได้ร่วมกันพัฒนาตัวต้นแบบ ‘โดรนกินได้’ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นตัวช่วยจัดส่งอาหารประทังชีวิต หากเกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน เนื่องจากหลายครั้งที่การรอคอยความช่วยเหลืออาจทำให้หลายชีวิตต้องตกอยู่ในความเสี่ยง
โดยทีมวิจัยได้พัฒนา ‘โดรนกินได้’ ที่มีปีกสองข้างทำมาจากข้าวเกรียบขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 70 เซนติเมตรซึ่งเชื่อมต่อกันด้วยเจลาติน ขณะเดียวกัน ปีกข้าวเกรียบนี้สามารถให้พลังงานได้มากถึง 300 แคลอรี และยังสามารถบรรทุกน้ำได้ประมาณ 80 กรัมอีกด้วย
นอกจากนี้ ตัวโดรนสามารถทำความเร็วได้ประมาณ 10 เมตรต่อวินาทีในการบินทดสอบกลางแจ้งโดยที่ส่วนปีกไม่แตกหักหรือเสียหาย อย่างไรก็ตาม ทีมนักวิจัยระบุว่าโดรนดังกล่าวยังคงต้องปรับปรุงความทนทานและความเร็วของการบินให้ดียิ่งขึ้น เพื่อนำไปสู่เป้าหมายการวางจำหน่ายเชิงพาณิชย์ในอนาคต “เราต้องการทำให้ทุกส่วนสามารถเป็นอาหารได้” คุณ Shintake กล่าว
References :
You May Also Like :
- Panasonic เตรียมนำ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า เซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจน บุกตลาดจีน
- Kura Sushi อัพเกรดระบบใหม่ เพิ่มการติดตั้งกล้อง AI บนสายพาน เพื่อป้องกันลูกค้าพฤติกรรมแย่
- ญี่ปุ่นเปิดตัว บริการเปิดบัญชีธนาคารออนไลน์ผ่านสมาร์ทโฟน สำหรับ ชาวต่างชาติ ที่พำนักอยู่ในญี่ปุ่น
- Weathernews วางแผนเปิดตัวเทคโนโลยี AI พยากรณ์อากาศในประเทศไทย ภายในเดือนมีนาคม
- บริษัทบล็อกเชนญี่ปุ่น Soramitsu จับมือแบงก์ชาติลาว เดินหน้าทดสอบ “เงินกีบดิจิทัล”