ล่าสุด Toshiba เตรียมเพิ่มการผลิต ฮาร์ดดิสก์ในศูนย์ข้อมูล (Data center) ที่จีน โดยมีแผนที่จะเพิ่มความจุฮาร์ดดิสก์เนียร์ไลน์ (nearline)* ภายในปี 2025 เพื่อรองรับความต้องการที่มากขึ้น ซึ่งทางบริษัทจะจัดส่งตัวอย่างสำหรับการผลิตอย่างเร็วที่สุดในเดือนมิถุนายน และวางแผนเริ่มการผลิตจำนวนมากภายในเดือนกรกฎาคม
โดยทาง Toshiba Electronic Devices & Storage ร่วมมือกับ TDK เพื่อจัดตั้งโรงงานผลิตในมณฑลกวางตุ้ง ซึ่งจะช่วย Toshiba ในการลดค่าใช้จ่ายด้านการขนส่ง และค่าใช้จ่ายอื่นๆ อย่างมาก ทั้งยังสามารถช่วยเหลือลูกค้าชาวจีนได้สะดวกยิ่งขึ้นอีกด้วย
ปัจจุบัน Toshiba มีโรงงานผลิตฮาร์ดดิสก์เนียร์ไลน์แค่ในฟิลิปปินส์เท่านั้น แต่ยังคงมีความต้องการเพิ่มการผลิตในประเทศอื่นๆ เพื่อกระจายการลงทุนในหลากหลายภูมิภาค นอกจากนี้บริษัทยังมีโรงงานในประเทศจีนเพื่อผลิตฮาร์ดดิสก์สำหรับใช้ในคอมพิวเตอร์และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ด้วยเช่นกัน
ซึ่งนักวิจัยชาวญี่ปุ่นจากบริษัท Techno Systems Research คาดการณ์ไว้ว่า การลงทุนในศูนย์ข้อมูลมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นอีก ตลาดฮาร์ดดิสก์เนียร์ไลน์จะมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นประมาณ 40% จาก 13.8 พันล้านดอลลาร์ (469,890 ล้านบาท) ในปี 2021 เพิ่มขึ้นเป็น 19.6 พันล้านดอลลาร์ (667,380 ล้านบาท) ในปี 2026
อย่างไรก็ตาม Toshiba ตั้งเป้าที่จะขยายส่วนแบ่งการตลาดทั่วโลกให้ถึงอย่างน้อยที่ 24% ภายในปี 2025 ซึ่ง Toshiba ถือเป็น 1 ใน 3 บริษัทชั้นนำของโลก (ร่วมกับบริษัทในประเทศสหรัฐอเมริกาอย่างบริษัท Seagate และบริษัท Western Digital)
ถึงแม้ว่าในปัจจุบันผู้บริโภคจะหันไปเลือกใช้โซลิดสเทตไดรฟ์ (SSDs) กันมากขึ้น เนื่องจากมีความรวดเร็วในการโหลดที่มากกว่า แต่ Toshiba เลือกเดิมพันกับศูนย์ข้อมูลที่ต้องกักเก็บข้อมูลมหาศาล โดยหวังว่าศูนย์ข้อมูลเหล่านี้จะยังคงเลือกใช้ฮาร์ดดิสก์ในการเก็บข้อมูลต่อไป เพราะมีค่าใช้จ่ายที่น้อยกว่ามาก (ประมาณหนึ่งในเจ็ดของราคา SSDs)
- ฮาร์ดดิสก์ในศูนย์ข้อมูล ส่วนใหญ่เป็นอุปกรณ์ที่เรียกว่า เนียร์ไลน์
References :
You May Also Like :
- Toyota เผยยอดขายทั่วโลกลดลง เหตุชิปขาดแคลน-เซี่ยงไฮ้ล็อกดาวน์
- Subaru วางแผนสร้างโรงงานรถยนต์ไฟฟ้าแห่งแรกในญี่ปุ่น
- ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมญี่ปุ่นเดือนเมษายนตกต่ำ สร้างแรงกดดันทางเศรษฐกิจ
- Toyota เรียกคืนทั่วโลก รถยนต์ไฟฟ้ารุ่นใหม่ “bZ4X” เหตุเสี่ยงล้อหลุดขณะขับขี่
- วิกฤตชิปขาดแคลน ส่งผลให้ Toyota ต้องปรับลดแผนการผลิตรถยนต์ทั่วโลก