ญี่ปุ่นตั้งเป้าผลักดัน แผงโซล่าเซลล์ แบบยืดหยุ่นได้ให้เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายภายในปี 2030 พร้อมวางแผนสนับสนุนการผลิตจำนวนมากภายในประเทศเพื่อลดการพึ่งพาจากต่างประเทศ และจะสนับสนุนให้อาคารสาธารณะ สถานีรถไฟ โรงเรียน รวมถึงสถานที่ต่างๆ ใช้ แผงโซล่าเซลล์ กันมากขึ้น
โดยรัฐบาลญี่ปุ่นตั้งใจจะผลักดันเทคโนโลยีเซลล์แสงอาทิตย์ชนิด Perovskite ไปสู่การจำหน่ายเชิงพาณิชย์ภายในปี 2030 เนื่องจากเซลล์แสงอาทิตย์ชนิด Perovskite นั้นมีประสิทธิภาพมากกว่าเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดซิลิกอนที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน นอกจากนี้ ยังมีน้ำหนักที่เบาและยืดหยุ่นกว่า ทำให้สามารถดัดหรือโค้งงอได้ จึงสามารถติดตั้งบนผนังและหลังคาของอาคารได้อย่างสะดวก
ทั้งนี้ รัฐบาลญี่ปุ่นจะให้การสนับสนุนทางการเงินแก่บริษัทต่างๆ เพื่อความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการผลิตภายในประเทศ เนื่องจากประเทศจีนเกือบจะผูกขาดการผลิตเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดซิลิกอนแบบดั้งเดิม
ดังนั้น ญี่ปุ่นจึงหวังว่าเทคโนโลยีเซลล์แสงอาทิตย์ชนิด Perovskite รุ่นต่อไปจะลดการพึ่งพาจากต่างประเทศได้ ซึ่งบริษัท Sekisui Chemical และ Toshiba เป็นหนึ่งในบริษัทที่คาดว่าจะเริ่มการผลิตจำนวนมากอย่างเร็วที่สุดในปี 2025
อนึ่ง รายงานของบริษัทวิจัย Fuji Keizai ระบุว่า ตลาดเซลล์แสงอาทิตย์ perovskite ทั่วโลกคาดว่าจะสูงถึง 7.2 แสนล้านเยน (ประมาณ 1.8 แสนล้านบาท) ภายในปี 2035 ซึ่งจะใหญ่กว่าในปี 2021 เกือบ 50 เท่า
References :
You May Also Like :
- บริษัทญี่ปุ่นเปิดตัว ‘Ukuran กระเป๋านักเรียนชูชีพ’ ลอยน้ำได้ เพื่อช่วยเหลือเด็กๆ หากเกิดเหตุฉุกเฉิน
- Lawson ญี่ปุ่น เสนอ 12 เมนูอัพไซส์ ราคาเดิม แต่เพิ่มปริมาณขึ้น 47% หวังบรรเทาภาระค่าครองชีพที่สูงขึ้น
- โอซาก้าเริ่มทดสอบการใช้ เชื้อเพลิงสังเคราะห์ ที่ผลิตจากน้ำและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
- รัฐบาลญี่ปุ่นเตรียมเพิ่มอัตรา การจ้างงานผู้พิการ จาก 2.3% เป็น 2.7% ภายในสิ้นปี 2026
- NH Foods พัฒนา อาหารทะเลจากพืช พร้อมตั้งเป้าจำหน่ายในเดือนมีนาคมนี้