สตาร์ทอัพญี่ปุ่น PorMedTec ได้ทำการเพาะพันธุ์หมู 3 ตัวที่มีการตัดแต่งพันธุกรรมเพื่อให้มีอวัยวะที่เหมาะสมสำหรับการปลูกถ่ายเข้าสู่มนุษย์ โดยความสำเร็จนี้เป็นก้าวสำคัญในการเตรียมความพร้อมสำหรับการปลูกถ่ายอวัยวะระหว่างสายพันธุ์ ฮิโรชิ นากาชิมะ ผู้แทนบริษัทและศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยเมจิในโตเกียว กล่าวถึงความก้าวหน้านี้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่น่าตื่นเต้น
PorMedTec ได้รับเซลล์หมูที่ผ่านการแก้ไขจาก eGenesis บริษัทชีวการแพทย์ของสหรัฐอเมริกาในเดือนกันยายน และสามารถฝังนิวเคลียสเซลล์เข้าไปในไข่และฝังเข้าไปในมดลูกของหมูได้สำเร็จ ส่งผลให้เกิดลูกหมูโคลนที่มีอวัยวะที่สามารถปลูกถ่ายเข้าสู่มนุษย์ได้โดยไม่ถูกต่อต้านจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
บริษัทมีแผนที่จะดำเนินการทดสอบทางคลินิกสำหรับการปลูกถ่ายอวัยวะหว่างสายพันธุ์ระหว่างหมูกับมนุษย์ในปีงบประมาณ 2025 โดยจะเริ่มต้นด้วยการทดลองปลูกถ่ายในลิงและสัตว์ทดลองอื่นๆ ก่อน สำหรับอวัยวะเป้าหมายแรกที่บริษัทจะนำไปใช้ในทางคลินิกคือไต เนื่องจากเป็นอวัยวะที่มีความต้องการผู้บริจาคไตอย่างรุนแรง
โดยปัจจุบันมีชาวญี่ปุ่นกว่า 350,000 คนต้องเข้ารับการล้างไตเนื่องจากโรคไตวาย ทำให้ต้องเดินทางเข้าโรงพยาบาลหลายครั้งต่อสัปดาห์ และใช้เวลาหลายชั่วโมง ซึ่งค่าใช้จ่ายทางการแพทย์สำหรับการล้างไตของประเทศญี่ปุ่นอยู่ที่ 1.6 ล้านล้านเยนต่อปี การได้รับการปลูกถ่ายไตจะช่วยลดความถี่ในการเข้าโรงพยาบาลและข้อจำกัดในชีวิตประจำวันของผู้ป่วย แต่ด้วยรายชื่อผู้รอรับการปลูกถ่ายไตที่ยาวนานถึง 14,000 ราย และเวลารอรับบริจากเฉลี่ยประมาณ 15 ปี ทำให้ผู้ป่วยหลายคนเสียชีวิตก่อนได้รับการปลูกถ่าย
References :